คำว่า "สงกรานต์ " มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า การผ่าน หรือ
การย้าย โดยการนับระยะเวลาที่เส้นทางของ
ดวงอาทิตย์โคจรผ่านกลุ่มดาวฤกษ์จักราศีทั้ง 12 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มดาวราศี เมษ
พฤษภ เมถุน กรกฎ สิงห์ กันย์ ตุลย์ พิจิก ธนู มังกรกุมภ์ และ มีน การโคจรผ่านกลุ่มดาวแต่ละกลุ่ม
จะใช้ระยะเวลา ประมาณ 30 วัน เมื่อ ดวงอาทิตย์โคจรผ่าน กลุ่มดาวเหล่านี้ครบทั้ง 12
กลุ่ม ก็จะได้ระยะเวลา 1 ปี พอดี เป็นวิธีการนับเดือนที่ใช้กันใน ประเทศอินเดีย
และกลุ่มประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจากอินเดียเช่น
ไทย พม่า เขมร ลาว เป็นต้น วันที่ 13 เมษายน เป็นวัน"มหาสงกรานต์" หรือวันเริ่มต้นปีใหม่
ทั้งนี้เป็นเพราะเป็นจากช่วงเวลาที่ดวง อาทิตย์โคจรผ่านจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษนั้น โลกโคจรเป็นมุมฉากกับดวงอาทิตย์
จึงมีกลางวันและกลางคืนยาวเท่ากันพอดีวันสงกรานต์เป็นวันทำบุญใหญ่ประจำปี มี 3
วันคือ
วันมหาสงกรานต์หรือวันส่งท้ายปีเก่า(วันที่ 13 เมษายน) วันกลางหรือวันเนา (วันที่ 14 เมษายน)
วันขึ้นปีใหม่ หรือวันเถลิงศก(วันที่ 15 เมษายน)
เมื่อวันสงกรานต์ตรงกับวันใดในแต่ละปี
ก็จะมีนางสงกรานต์ประจำวันนั้นๆนางสงกรานต์มีชื่อดังนี้ วันอาทิตย์ ชื่อนางทุงษ
วันจันทร์ชื่อนางโคราค วันอังคารชื่อนางรากษสวันพุธชื่อนางมณฑา
วันพฤหัสชื่อนางกิริณี วันศุกร์ชื่อนางกิมิทา วันเสาร์ชื่อนางมโหทรนางสงกรานต์เป็นธิดาของท้าวมหาสงกรานต์
หรือ ท้าวกบิลพรหม มีหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันดูแลเศียรของท้าวกบิลพรหมซึ่งประดิษฐานอยู่ในพานแว่นฟ้า
เนื่องจากท้าวกบิลพรหมแพ้พนันการตอบปัญหาแก่ธรรมบาลกุมารจึงต้องตัดเศียรของตนบูชาแก่ธรรมบาลกุมาร
ก่อนจะตัดเศียรท้าวกบิลพรหมาได้เรียกธิดาทั้ง 7
ซึ่งเป็นนางฟ้าบนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาให้เอาพานมารองรับเนื่องจากเศียรของท้าวกบิลพรหมเป็นที่รวมแห่งความร้อนทั้งปวง
ถ้าวางไว้บนแผ่นดินไฟจะไหม้โลกถ้าโยนขึ้น ไปบนอากาศฝนจะแล้ง
ถ้าทิ้งลงในมหาสมุทรน้ำจะแห้งธิดาทั้ง 7จึงผลัดเปลี่ยนกันถือพานรองเศียรของท้าวกบิล
พรหมไว้ คนละ 1 ปี
แหล่งที่มา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น